มีใครเป็นมังสวิรัติหรือคิดอยากจะเปลี่ยนมารับประทานอาหารมังสวิรัติมั่งไหมคะโดยส่วนตัวนั้นผู้เขียนได้ลองอาหารมังสวิรัติครั้งแรกเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วโดยมีรุ่นน้องนำพาไปที่ชมรมมังสวิรัติ จตุจักร ความรู้สึกครั้งนั้นคืออาหารไร้เนื้อสัตว์ก็ดี เหมือนกันนะเพราะเบาสบายท้อง และทำให้ขับถ่ายดี ถึงกระนั้นก็ไม่ได้บำเพ็ญ ตนเป็นมังสวิรัติเต็มตัว กระทั่งไปใช้ชีวิตที่ออสเตรเลียระยะหนึ่งพบว่ามังสวิรัติ เป็นกระแสที่มาแรงมาก ร้านอาหารที่โน่นส่วนใหญ่จะมีเมนูมังสวิรัติให้เลือก ที่น่าแปลกคือลูกค้าโดยมากเป็นวัยรุ่นและกลุ่มคนหนุ่มสาววัยทำงาน
วัยรุ่นออสซี่หลายคนอาจเลือกรับประทานมังสวิรัติเพราะต้องการสร้างความ แตกต่างจากเพื่อน แต่ถ้าถามถึงเหตุผลหลักคงเป็นเรื่องของสุขภาพ ออสเตรเลีย เป็นประเทศหนึ่งที่มีจำนวนประชากรเป็นโรคอ้วน (Obesity) สูงมาก ถึงขั้นมีการ เปรียบเทียบว่าประเทศดาวน์อันเดอร์แห่งนี้กำลังถูกถล่มด้วย Fat Bomb (ระเบิด ไขมัน) เลยทีเดียว รัฐบาลต้องจ่ายงบมหาศาลไปกับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรค อันเกิดจากความอ้วน จึงอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้คนรุ่นใหม่หันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น 1
อาหารมังสวิรัติที่เคยถูกมองเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยหรือคนสูงวัย ถูกสร้าง ภาพลักษณ์ใหม่กลายเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ บ้านเราเองจำนวนคนที่หันมาเป็น มังสวิรัติดูเหมือนจะมากขึ้นเรื่อยๆ ร้านอาหารมังสวิรัติก็หารับประทานได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องรอช่วงเทศกาลกินเจเหมือนเมื่อก่อนสำหรับคนที่สนใจจะเป็นมังสวิรัติเต็มตัว อยากให้ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดที่พึงจะได้รับจากการ เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ถ้าเป็นไปได้ หากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างโภชนากร หรือนักกำหนดอาหารก่อนก็จะเป็นการดี แต่วันนี้มีข้อมูลบางส่วนมาแนะนำ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักประเภทของมังสวิรัติที่มี 8 กลุ่ม ประกอบด้วย
การรับประทานมังสวิรัติยังมีข้อต้องระวังอีกมากมายบางคนพอเห็นอะไรที่ไม่มีเนื้อสัตว์ก็คิดว่ารับประทานได้ไม่อั้น เช่น มันฝรั่งทอด เค้ก คุกกี้ ขนมอบ ไอศกรีม ซึ่งถือเป็นอาหารประเภท Empty Calories หรืออาหารที่ให้พลังงานสูงแต่คุณค่า ทางโภชนาการต่ำ ยิ่งเป็นขนมที่ทำจากแป้งขัดขาวด้วยแล้ว กินเยอะไปอาจทำให้ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์พุ่งสูงได้ ไม่ถึงขนาดต้องละอาหารดังกล่าว แต่ควรบริโภคพอประมาณ อาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพที่ควรพกติดตัวก็เช่น ถั่วต่างๆ ที่ควรกินแกล้มกับผลไม้แห้ง แครกเกอร์ทำจากแป้งไม่ขัดสี หรือผลไม้สด สลัด ผัก และโยเกีร์ต (กรณีที่รับประทานผลิตภัณฑ์จากนมได้) เป็นต้น
สำหรับคนที่กังวลว่าไม่ได้รับประทานเนื้อสัตว์แล้วร่างกายจะขาดโปรตีน แหล่งโปรตีนจากพืชมีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพืชตระกูลถั่ว ทั้งถั่วเมล็ดแห้ง และถั่วที่เป็นฝัก เมล็ดพืช ธัญพืช ข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ในคนปกติ ร่างกายต้องการโปรตีนคิดเป็น 0.8 กรัม/กิโลกรัม/น้ำหนักตัวทั้งหมด คำนวณคร่าวๆ ก็เช่น หากน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ร่างกายต้องการโปรตีนประมาณ 40 กรัม/วัน ที่สำคัญอย่ารับประทานอาหารซ้ำๆ ทุกวัน ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลาก หลายและหมุนเวียนกันไปเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และขอให้โฟกัสที่สาร อาหาร 5 อย่างที่ชาวมังสวิรัติเสี่ยงขาดแคลน ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินพี 12 และวิตามินดี
มาถึงคำถามสำคัญรับประทานมังสวิรัติแล้วทำให้สุขภาพดีจริงหรือ ก็มีผลการ ศึกษา งานวิจัยออกมาแนวทางเดียวกันว่าคนที่เป็นมังสวิรัติมักมีความเสี่ยง ในการเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่บริโภคเนื้อสัตว์ อันนี้ก็อาจเป็นเพราะอาหารมังสวิรัติประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า ไฟเบอร์สูงกว่า และแคลอรีต่ำกว่าอาหารทั่วไป อาหารมังสวิรัติมีส่วนประกอบของผักผลไม้ เป็นหลัก ซึ่งอุดมด้วยสารอาหารจากพืชและสารต้านอนุมูลอิสระที่ลดความเสี่ยง ของการเกิดโรคต่างๆ
อย่างไรก็ตาม อาหารมังสวิรัติอย่างเดียวไม่ได้เป็นดัชนีบ่งชี้การป้องกันการ เกิดโรค Lifestyle หรือวิถีการใช้ชีวิตก็มีส่วนอย่างมาก เช่น การรับประทานอาหาร นอกบ้านเป็นกิจวัตร จะแน่ใจอย่างไรว่าเข้าล้างผักได้สะอาดหมดจดไร้สารพิษ ตกค้าง และไม่ใส่ผงชูรสหรือสารปรุงแต่งที่เกินความจำเป็นร่างกาย การสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การขาดการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่ทำให้เกิด ความเครียดตลอดเวลา หากการมีสุขภาพที่ดีเป็นเป้าหมายหลักของคุณละก็ นอกจากดำรงตนเป็นมังสวิรัติแล้ว คุณยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงทั้งหลายลงด้วยนะจึงจะทำให้เป้าหมายเป็นจริงได้
COPYRIGHT©2019 CHUBBYSWAN ALL RIGHTS RESERVED. Design by JOY